วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 6 ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ (พร้อมเฉลย)

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2555 (สอบ ม.ค. 2555)
           - คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2556 (สอบ ม.ค. 2556)
           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย ตอนที่ 1 คลิกที่นี่ ตอนที่ 2 คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ + เฉลย คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่ 
           ภาษาไทย คลิกที่นี่
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ + เฉลย คลิกที่นี่

ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ ปี 2557 (สอบ ม.ค. 2557)
           คณิตศาสตร์ คลิกที่นี่ + เฉลย คลิกที่นี่
           ฟิสิกส์ คลิกที่นี่
           เคมี คลิกที่นี่  + เฉลย คลิกที่นี่
           ชีววิทยา คลิกที่นี่
           ภาษาไทย คลิกที่นี่ 
           สังคมศึกษา คลิกที่นี่
           ภาษาอังกฤษ คลิกที่นี่
 

ขอขอบคุณ ที่มา ไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ จากแหล่งต่างๆ ดังนี้
          skyDrive รวบรวมไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ โดย เอกพล อนันตภูมิ
          Facebook : SUCKSEED สำหรับคนที่มีฝันจะเป็นหมอ และก้าวไปพร้อมๆกัน
          Enconcept E-Academy
          อาจารย์ บุญช่วย ภัทรเลิศศิริ
          อาจารย์ สนธยา เสนามนตรี
          - อาจารย์ ดร.ธนพงษ์ กรีธาดำรงเดช หรือ อ.บิ๊ก A.BIG CENTER 
          อาจารย์ Rath Limprasittiporn Website : http://rathcenter.com
          อาจารย์ Sila Sookrasamee คุณครูวิชาคณิตศาสตร์
          - พี่อุ๋ย http://www.tutoroui.com และ http://www.tutoroui-plus.com
          ชูเกียติ ตันติวงศ์ – ชูเส็ง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          ทุกคน ที่ร่วมกันแชร์ไฟล์ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ


ติวเฉลย 7 วิชาสามัญ 57 ภาษาอังกฤษ พร้อมแนวข้อสอบ


Cr. https://www.youtube.com/watch?v=XWNKdQ1P4OY



ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://p-dome.com/7-w-55-57/

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 5 ค่านิยม 12 ประการ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ


                    ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ   (คสช.) สัปดาห์ที่ ๗ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา   หัวหน้า คสช. ได้กล่าวว่า “น่าจะกำหนด “ค่านิยมหลักของคนไทย” ขึ้น   เพื่อสร้างประเทศไทยให้เข้มแข็ง ” ซึ่งได้รวบรวมไว้ ๑๒ ประการ   ดังนี้

๑) มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันหลักของชาติในปัจจุบัน
๒) ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
๓) กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
๔) ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษา เล่าเรียน ทางตรงและทางอ้อม
๕)   รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
๖) มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
๗) เข้าใจ เรียนรู้ การเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหาก ษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
๘)   มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักเคารพผู้ใหญ่
Cr. https://sites.google.com/site/thevalue12/kha-niym12pra-k/khx-thi8
๙) มีสติ รู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
Cr. https://sites.google.com/site/thevalue12/kha-niym12pra-k/khx-thi9
๑๐)   รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัช ญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรั   สของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   รู้จัดอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็ น มีไว้พอกินพอใช้   ถ้าเหลือก็แจกจ่าย จำหน่าย ขยายกิจการ เมื่อมีความพร้อม   โดยมีภูมิคุ้มกันที่ดี
Cr. https://sites.google.com/site/thevalue12/kha-niym12pra-k/khx-thi-3
๑๑) มีความเข้มแข็ง ทั้งร่างกายและจิตใจ   ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ หรือกิเลส มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป   ตามหลักของศาสนา
Cr. https://sites.google.com/site/thevalue12/kha-niym12pra-k/tx-pi-khx-thi
๑๒) คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และต่อชาติ   มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
Cr. https://sites.google.com/site/khanikhm12prakar/12-khanung-thung-phl-prayochn-khxng-swn-rwm-laea-khxng-chati-makkwa-phl-prayochn-khxng-tnxeng
เพลง ค่านิยม 12 ประการ
Cr. https://www.youtube.com/watch?v=H9891PGJl6Y

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://moralcenter.or.th/2014/?article=%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ใบงานที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550

พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550



Cr. http://www.nongit.com/windows/computer-act/


                   พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ นั้น มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างมากกับวงการคอมพิวเตอร์ เพราะปัจจุบันคอมพิวเตอร์นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราโดยเข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทในหลายๆ ด้าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไอทีอย่างเราๆ ท่านๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ เพื่อให้ทราบถึงกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้ตั้งใจ ในที่นี้จะเป็นการสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้เป็นหลัก สำหรับรายละเอียดทั้งหมดนั้นสามารถอ่านได้จากเว็บไซต์ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (http://www.mict.go.th) หรือ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ๒๕๕๐ ณ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๐

มาตราต่างๆ ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ มีดังนี้
• มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
• มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือ ในภายหลังและไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
• มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
• มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สรุปพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้
• สรุปมาตรา ๕ การแอบเข้าระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๖ การแอบรู้มาตรการป้องกันระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๗ การแอบเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๘ การดักจับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๙ การรบกวนหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๑๐ การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๑๑ การส่งสแปมเมล์ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๑๒ การกระทำความผิดต่อความมั่นคง (1) จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท (2) จำคุกไม่เกิน 3-15 ปี ปรับ 60,000-300,000 บาท หรือหากการกระทำส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมีโทษจำคุก 10-20 ปี
• สรุปมาตรา ๑๔ การปลอมแปลงข้อมูลหรือเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• สรุปมาตรา ๑๖ การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อ/ดัดแปลง จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำถามที่มีการถามบ่อยเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
สำหรับคำถาม 3 คำถามที่มีการถามบ่อยเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มีดังนี้
1. ถาม : พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ตอบ : พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2550 เป็นต้นไป
2. ถาม : ทำไมถึงต้องมี พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตอบ : นั่นก็เพราะว่าทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น ซึ่งมีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใดๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมไปถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร จึงต้องมีมาตรการขึ้นมาเพื่อเป็นการควบคุมนั่นเอง
3. ถาม : แล้วแบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิด
ตอบ : การกระทำที่เข้าข่ายความผิดมีดังนี้
• การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
• การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
• การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
• การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
• การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
• การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
• การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
• การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
• การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
• การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลอื่น
รายละเอียดเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเกี่ยวกับพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร: http://www.mict.go.th หากต้องการดาวน์โหลดไฟล์สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ ดังนี้
• พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ ในรูปแบบ pdf ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/download/001_28_10.pdf
VDO ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550
Cr. https://www.youtube.com/watch?v=OdMqYTnBmX8
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.nongit.com/windows/computer-act/